ก่อนตัดสินใจทำเลสิก ควรเลือกทำที่ไหนดี และเลสิก ราคา ต้องเลือกอย่างไร

1 sec read

การทำเลสิก

การทำเลสิกคือการผ่าตัดรักษาภาวะสายตาที่ผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นสายตาสั้น สายตายาวที่เป็นมาตั้งแต่เกิด สายตาเอียงและสายตายาวตามอายุ เป็นการผ่าตัดรักษาแบบถาวรที่จะแยกชั้นกระจกตาโดยการใช้ใบมีดด้วยเครื่องMicrokeratome ร่วมกับการใช้เครื่อง Excimer Laser ซึ่งเป็นการใช้แสงเลเซอร์แบบเย็นที่จะไปทำปฏิกิริยาเฉพาะพื้นผิวที่สัมผัสเท่านั้นและจะไม่สามารถทะลุผ่านกระจกตาเข้าไปในลูกตาได้ สำหรับการปรับแต่งความโค้งกระจกตาให้เหมาะเพื่อให้แสงตกกระทบพอดีกับจุดรับภาพ ซึ่งจะทำให้ผู้ที่เข้ารับบริการสามารถใช้สายตาได้เหมือนคนปกติ ซึ่งการเข้ารับบริการเลสิก ราคา จะเป็นเท่าใดนั้นจะขึ้นอยู่กับสถานบริการแต่ละที่โดยผู้เข้ารับบริการจะต้องเลือกแบบใดนั้นเรามาดูกัน

ตัดสินใจเลือกทำเลสิกควรเลือกทำเลสิคที่ไหนดีมีวิธีเลือกอย่างไร

  • เลือกสถานบริการที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข เพื่อความปลอดภัยในการเข้ารับบริการ
  • สถานบริการนั้นต้องมีแพทย์ที่ทำเลสิกเฉพาะทางด้านการผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ และมีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วย
  • เครื่องมือที่ใช้ควรได้รับมาตรฐานและควรเป็นรุ่นที่ทันสมัย สามารถแก้ไขค่าสายตาได้แม่นยำและมีความปลอดภัย โดยมีผลข้างเคียงที่ต่ำ
  • หากเลือกศูนย์เลสิกที่ตั้งอยู่ในสถานพยาบาลจะสามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างครบวงจร เช่น หากผู้ป่วยมีตัวโรคเกี่ยวกับตา เช่น ตาแดง ตาแห้งรุนแรง หรือมีต้อกระจก ต้อหินร่วมด้วย ก็สามารถรักษาต่อเนื่องได้เลย
  • สถานบริการนั้นควรจะมีทีมงานที่มากด้วยประสบการณ์ในด้านการดูแลผู้ป่วยเลสิกและสามารถให้คำแนะนำปรึกษาได้อย่างละเอียดและครบถ้วน
  • ในส่วนของราคาต้องเป็นราคาที่ยอมรับได้ ซึ่งการทำเลสิกนั้นจะมีหลายประเภทและจะมีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีและความซับซ้อนของเทคนิคการผ่าตัด และสถานที่ทำเลสิคแต่ละแห่งก็มีอัตราค่าบริการที่แตกต่างกันไป ผู้เข้ารับบริการควรศึกษาและเปรียบเทียบให้แน่ใจก่อน

การทำเลสิกสามารถรักษาสายตาที่ผิดปกติแบบใดได้บ้าง

  1. สายตาสั้น (Myopia) เป็นอาการของผู้เข้ารับบริการที่มองเห็นวัตถุที่อยู่ไกลไม่ชัด แต่จะมองเห็นวัตถุที่อยู่ใกล้ได้ชัดเจน ซึ่งมีสาเหตุมาจากกระจกตาที่โค้งมากเกินไป หรือกระบอกตายาวเกินไป
  2. สายตายาว (Hyperopia) เป็นอาการของผู้เข้ารับบริการที่จะมองเห็นวัตถุที่อยู่ใกล้ได้ไม่ชัด ซึ่งมีสาเหตุมาจากกระจกตาโค้งน้อยกว่าปกติ (แบน) หรือกระบอกตาสั้นเกินไป หรือหากเป็นสายตายาวตามวัย มักจะมาจากสาเหตุของกล้ามเนื้อตาที่เสื่อมสภาพลงตามวัย
  3. สายตาเอียง (Astigmatism) เป็นอาการของผู้เข้ารับบริการที่มองเห็นภาพไม่ชัดเจน เพราะมีการหักเหของแสงที่ตกกระทบโฟกัสที่จอประสาทตาไม่สม่ำเสมอในระนาบเดียวกัน
  4. สายตาสั้นด้วย และมีสายตายาวตามวัยด้วย อาการนี้เกิดจากกระบวนการสายตาสั้นตามปกติ ซึ่งเกิดจากกระจกตาโค้งเกินไปหรือกระบอกตายาวเกินไป ทำให้มองไกลได้ไม่ชัด แต่เมื่อมีอายุมากขึ้น กล้ามเนื้อที่ใช้หักเหแสงของกระจกตาเริ่มเสื่อมลง จึงไม่มีกำลังมากพอที่จะบีบกระจกตาให้โป่งออกเป็นเลนส์นูนได้เหมือนเดิม ทำให้มองใกล้ได้ไม่ชัด กรณีเช่นนี้ สามารถรักษาด้วยการทำเลสิคได้เช่นกัน

ใครบ้างที่เหมาะกับการทำเลสิก

  1. ผู้เข้ารับบริการต้องมีอายุ 18 ปี ขึ้นไป และมีสายตาคงที่อย่างน้อย 1 ปี สำหรับคนไข้ที่อายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ ต้องมีผู้ปกครองมาด้วยในวันที่เข้ารับการตรวจและผ่าตัด
  2. ผู้เข้ารับบริการต้องไม่มีโรคของกระจกตา เช่น โรคกระจกตาย้วย ตาแห้งอย่างรุนแรง และโรคตาอย่างอื่น เช่น จอประสาทตาเสื่อม หรือโรคทางร่างกายที่มีผลต่อการหายของแผล เช่น โรค SLE ,โรค Sjogren’s หรือโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการขาดภูมิคุ้มกัน
  3. ผู้เข้ารับบริการต้องไม่อยู่ระหว่างตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร
  4. ผู้เข้ารับบริการมีความเข้าใจถึงการผ่าตัดด้วยวิธีเลสิกอย่างละเอียด และมีความคาดหวังที่ถูกต้อง

ก่อนทำเลสิกควรเตรียมตัวอย่างไร

  1. หากใช้คอนแทคเลนส์ให้ถอดอย่างน้อย 7 วัน เพราะจะช่วยให้แพทย์ตรวจวัดค่าสายตาได้อย่างแม่นยำขึ้น และทำให้ผลการรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น
  2. งดใช้ยารักษาสิว อย่างน้อย 1 เดือน (ทั้งก่อนตรวจสภาพตา และก่อนผ่าตัด) เพราะเป็นยาที่ส่งผลต่อเยื่อบุและผิวกระจกตา อาจทำให้การวัดประเมินดวงตามีความคลาดเคลื่อน นอกจากนี้ ถ้าใช้ยาประจำอยู่ ต้องแจ้งให้จักษุแพทย์ทราบ
  3. วันที่มาตรวจประเมินสายตา อาจต้องมีการหยอดยาเพื่อขยายม่านตาด้วย ซึ่งจะทำให้ตาสู้แสงไม่ได้ และเกิดอาการพร่ามัวชั่วคราว จึงควรเตรียมแว่นกันแดดไว้ และพาเพื่อนหรือญาติมาด้วยเพื่อคอยดูแล

หลังการทำเลสิกควรปฏิบัติตัวอย่างไร

  • ห้ามขยี้ตาเด็ดขาด ผู้เข้ารับบริการบางรายอาจมีอาการคันตาได้ เนื่องจากยังไม่สามารถล้างหน้าได้ หากมีอาการคัน ควรล้างมือให้สะอาด ใช้นิ้วชี้แตะเบา ๆ ที่หัวตาหรือหางตาเท่านั้น
  • ห้ามไม่ให้น้ำเข้าตา (จนกว่าจะตรวจครบ 1 สัปดาห์กับจักษุแพทย์แล้ว) ควรสระผมที่ร้าน งดล้างหน้า ใช้การเช็ดหน้าแทน อาบน้ำได้ตามปกติ แต่ระวังอย่าให้น้ำเข้าตา
  • เพื่อป้องกันการติดเชื้อควรหยอดยาปฏิชีวนะที่แพทย์สั่งวันละ 4 ครั้ง
  • หากมีอาการตาแห้ง หรือระคายเคืองตาสามารถหยอดน้ำตาเทียม ได้บ่อยเท่าที่ต้องการ
  • คนไข้ยังคงใส่ฝาครอบตาก่อนนอนทุกคืน จนกว่าจะกลับมาพบแพทย์ครั้งต่อไป รวมไปถึงการใส่ฝาครอบตาก่อนนอนกลางวันด้วย เพื่อป้องกันการขยี้ตาโดยไม่รู้ตัว
  • คนไข้สามารถทำงานได้ตามปกติ
  • ควรงดการแต่งหน้าบริเวณรอบดวงตาเป็นเวลา 2 สัปดาห์