การทำรีแพร์ คืออะไร ทำไมต้องทำ และ ทํารีแพร์ ราคาเท่าไหร่

0 sec read

ทํารีแพร์ ราคาเท่าไหร่

ทํารีแพร์ ราคาเท่าไหร่ ก่อนอื่นเลยเราควรมาทำความรู้จักกับคำว่า “ทำรีแพร์” ก่อนว่าคืออะไร รีแพร์เป็นหนึ่งในนวัตกรรมเพื่อช่วยให้สุขภาพผู้หญิง ที่ช่วยแก้ปัญหาจุดซ่อนเร้นต่าง ๆ ที่สร้างความกังวลให้กับผู้หญิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการส่งคลื่นพลังงานเข้าไปภายในช่องคลอด กระตุ้นการสร้างสารหล่อลื่น ทำให้ช่องคลอดชุ่มชื้น และสะอาดขึ้นได้โดยไม่ต้องใช้ตัวช่วยที่เสี่ยงกับอันตรายต่อจุดซ่อนเร้น นอกจากนี้คลื่นพลังงานที่เข้าไปภายในช่องคลอด ยังช่วยกระตุ้นให้เกิดการสร้างคอลลาเจนที่กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน และช่องคลอด ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือช่องคลอดจะฟิตกระชับขึ้นทันที ซึ่งคุณสาว ๆ จะสามารถสัมผัสได้ถึงความเปลี่ยนแปลงหลังทำครั้งแรกกันเลยทีเดียว

การทำรีแพร์คืออะไร

การทำรีแพร์ ( Repair) คือ การศัลยกรรมกระชับช่องคลอด ด้วยการผ่าตัดช่องคลอด เพื่อแก้ไขรักษาปัญหาช่องคลอดหลวมหรือหย่อนคล้อยก่อนถึงวัยอันควร ซึ่งอาจเกิดจากกระเพาะปัสสาวะหรือท่อปัสสาวะเคลื่อนตัวลงมาที่ช่องคลอด และอาจเกิดความผิดปกติ หรือความเสียหายภายในผนังช่องคลอด จนทำให้เนื้อบริเวณช่องคลอดหย่อนคล้อยไม่กระชับตัว การทำรีแพร์ยังช่วยให้สาว ๆ บอกลาปัญหา หย่อนยาน หย่อนคล้อย ซึ่งส่งผลดีต่อการมีเพศสัมพันธ์ และการขับถ่ายอีกด้วย

ทำไมต้องทำรีแพร์ เมื่อทำแล้วแก้ปัญหาอะไรได้บ้าง

สำหรับการมีเพศสัมพันธุ์นั้นถือได้ว่าเป็นเรื่องธรรมชาติที่ทุกคนต้องยอมรับ และมีความสำคัญสำหรับการใช้ชีวิตคู่ อย่างปฏิเสธไม่ได้ ดังนั้น หากมีสิ่งใดที่ก่อให้เกิดปัญหาแล้วไม่ได้รับการแก้ไข อาจจะส่งผลให้ชีวิตคู่ไม่มีความสุข และผู้ที่มีปัญหาช่องคลอดหย่อนยานอย่างรุนแรง ไม่เพียงมีผลต่อเรื่องเพศสัมพันธ์เท่านั้น ยังรวมไปถึงอาการปัสสาวะเล็ด ปัสสาวะซึม หรือมดลูกเคลื่อนย้อยลงมาในช่องคลอดด้วย  ซึ่งอาการปัสสาวะเล็ด และซึมนี้มักจะเกิดขึ้นในขณะไอ หรือจาม เวลายกของหนัก หรือแม้กระทั่งเวลาเดิน เป็นเหตุให้การใช้ชีวิตประจำวันประสบปัญหา

ความจำเป็นในการทำรีแพร์จะเกิดขึ้นตอนไหน

  • เมื่อช่องคลอดหลวม หย่อนคล้อย ไม่กระชับ ผู้หญิงบางคนอาจต้องการทำรีแพร์ เพราะอาจต้องเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้
  • เจ็บปวดในขณะมีเพศสัมพันธ์อึดอัด ไม่สบายตัว เหมือนมีอะไรอยู่ในช่องคลอดปัสสาวะบ่อย
  • รู้สึกปวดปัสสาวะตลอดเวลา หรือไม่สามารถปัสสาวะให้หมดได้ในคราวเดียวกลั้นปัสสาวะไม่ได้ หรือมีปัสสาวะเล็ดในขณะไอ จาม การทำรีแพร์ช่วยคุณได้
  • เวลายกของหนัก จะรู้สึกหน่วง ๆ หรือหนักบริเวณอุ้งเชิงกราน ปวดหลังส่วนล่าง แต่จะรู้สึกดีขึ้นเมื่อนอนลงสามารถมองเห็นหรือรู้สึกได้ถึงเนื้อส่วนที่นูนออกมาหรือหย่อนคล้อยลงมาที่ปากช่องคลอด
  • อาจมีอาการกระเพาะปัสสาวะติดเชื้อ

ใครเหมาะกับการทำรีแพร์

สำหรับการทำรีแพร์นั้นจะเหมาะกับสาว ๆ ที่มีปัญหาเกี่ยวกับช่องคลอด และกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน เช่น ช่องคลอดไม่กระชับเนื่องจากการคลอดบุตร หรือสตรีวัยหมดประจำเดือน นอกจากนี้ยังเหมาะกับสาว ๆ ที่มีปัญหาปัสสาวะเล็ด กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือมีปัญหาช่องคลอดแห้งอีกด้วย นอกจากนี้ยังเหมาะกับสาว ๆ ที่ต้องการเสริมความฟิตกระชับให้กับจุดซ่อนเร้น หรือต้องการมีจุดซ่อนเร้นภายนอกที่ดูเด็กลงก็สามารทำได้ด้วยเช่นกัน

ทำรีแพร์แบบใดได้บ้าง

ทำรีแพร์แบบผ่าตัด

เป็นการรีแพร์ หรือ ผ่าตัดแก้ปัญหาและเย็บน้องสาวให้กระชับขึ้น โดยจะมีบาดแผลเกิดขึ้นในช่องคลอด ซึ่งหลังจากรีแพร์คนไข้จะต้องหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ หรือสิ่งที่เป็นสาเหตุอาจทำให้แผลที่บริเวณช่องคลอด เกิดการฉีกขาดหรือมีแผลเพิ่มขึ้นจากเดิม หลีกเลี่ยงกิจกรรมทุกประเภท ที่จะเกิดการกระทบแผลจากการผ่าตัด แม้กระทั้งการไอ หรือจาม แรง ๆ ก็อาจส่งผลได้

ทำรีแพร์แบบไม่ผ่าตัด

วิธีการกระชับช่องคลอดแบบไม่ต้องผ่าตัด เป็นการรักษาด้วยตัวเอง ซึ่งจะเหมาะสำหรับคนที่เริ่มรู้สึกว่าน้องสาวเริ่มไม่กระชับ คือการขมิบหรือออกกำลังกายให้กับช่องคลอดฟิตกระชับขึ้น โดยสามารถกระทำได้ทุกวันและทำซ้ำได้ตามความต้องการ วิธีทำก็คือการขมิบค้างไว้ประมาณ 10 นาทีและปล่อยคลายตัวออก โดยทำให้ได้ประมาณ 150 ครั้งต่อวัน ซึ่งจะช่วยให้น้องสาวกระชับขึ้นโดยไม่ต้องผ่าตัด

เตรียมตัวอย่างไรเมื่อต้องทำรีแพร์

  • ขั้นตอนแรกแพทย์จะสอบถามประวัติทางการแพทย์ ตรวจดูบริเวณช่องคลอด หรือตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีการอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัดของอาการช่องคลอดหย่อนคล้อย เพื่อให้วางแผนรักษาได้อย่างถูกต้องต่อไป
  • หลังจากแพทย์วินิจฉัยแล้วว่าผู้ป่วยสามารถรับการทำรีแพร์ได้ แพทย์กับผู้ป่วยจะพูดคุยปรึกษากันถึงประโยชน์ทางการรักษา ความเสี่ยง ผลข้างเคียง การเตรียมตัว และวิธีการทำรีแพร์
  • เมื่อตัดสินใจทำรีแพร์ แพทย์จะนัดหมายวันและเวลาในการผ่าตัด โดยแพทย์อาจให้ผู้ป่วยฝึกขมิบบริหารกล้ามเนื้อช่องคลอด ทาครีมเอสโตรเจนเพื่อป้องกันภาวะช่องคลอดแห้ง หรืออาจให้ผู้ป่วยสอดอุปกรณ์เพื่อช่วยพยุงภาวะช่องคลอดหย่อนและรักษาปัญหาปัสสาวะเล็ด
  • สำหรับผู้ป่วยที่กำลังใช้ยารักษาอาการป่วยอื่น ๆ อยู่ ควรหยุดใช้ยาอย่างแอสไพริน ไอบูโพรเฟน หรือนาพรอกเซนเป็นระยะเวลาหลาย ๆ วัน ก่อนวันผ่าตัด เพื่อลดความเสี่ยงไม่ให้เลือดไหลออกมามากเกินไปในการผ่าตัด หากผู้ป่วยไม่แน่ใจเกี่ยวกับการใช้ยาที่อาจมีผลต่อการผ่าตัด ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการใช้ยาชนิดต่าง ๆ เช่น ยาวาร์ฟาริน ซึ่งเป็นยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด ช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือด
  • แพทย์อาจให้ผู้ป่วยงดอาหารเป็นเวลาอย่างน้อย 8 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัด

หลังทำรีแพร์ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร

  • หลังการผ่าตัด ผู้ป่วยต้องนอนพักรักษาตัวภายใต้การดูแลของแพทย์ โดยในระหว่างนี้ ผู้ป่วยต้องรับประทานอาหารเหลวหรืออาหารอ่อน ๆ จนกว่าร่างกายจะฟื้นตัวจึงจะสามารถรับประทานอาหารตามปกติได้
  • หากการผ่าตัด ผู้ป่วยอาจต้องใส่สายสวนปัสสาวะมาจากกระเพาะปัสสาวะ เพื่อระบายปัสสาวะเป็นเวลา 1-2 วัน
  • ผู้ป่วยต้องรับประทานยาที่แพทย์กำหนดตามปริมาณและวิธีการที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด โดยแพทย์อาจจ่ายยาเพื่อรักษาควบคุมอาการ ดังนี้
  • สำหรับการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันภาวะติดเชื้อแบคทีเรีย ผู้ป่วยต้องรับประทานยาอย่างถูกต้องต่อเนื่อง และไม่หยุดใช้ยาอย่างกะทันหันโดยปราศจากคำสั่งแพทย์
  • ยาแก้ปวด ผู้ป่วยอาจต้องใช้ยาแก้ปวดเพื่อลดอาการเจ็บปวดจากแผลผ่าตัด โดยผู้ป่วยต้องศึกษาวิธีการใช้ยาอย่างถูกต้อง เช่น ปริมาณยาที่ควรรับประทานต่อครั้ง ระยะเวลาที่ควรเว้นช่วงการใช้ยา ทั้งนี้ ผู้ป่วยไม่ควรรอให้มีอาการปวดอย่างรุนแรงก่อนจึงใช้ยา และหากใช้ยาไปแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบปรึกษาแพทย์