9 สาเหตุการเกิดเหงื่อ 7 วิธีการลดเหงื่อ

3 sec read

การที่เหงื่อออกมาทางร่างกายเป็นเรื่องที่ดี เพราะช่วยทำให้อุณหภูมิในร่างกายลดลง แต่ถ้าออกมาในปริมาณที่เยอะจนเกินไป อาจทำให้เกิดปัญหาในชีวิตประจำวันได้ หลายคนกำลังประสบกับปัญหาเหงื่อเป็นอย่างมาก เกิดความวิตกกังวลใจ ไม่มีความมั่นใจในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ จึงต้องหาข้อมูลเพื่อช่วยในการลดเหงื่อหรือกำจัดเหงื่อให้มีปริมาณที่สามารถรับได้ เพื่อให้การทำกิจกรรมต่าง ๆ เป็นไปได้ด้วยดี ไม่ต้องวิตกกังวลอีกต่อไป

สาเหตุของการเกิดเหงื่อมากเกินไป

  1. มีความสัมพันธ์กับพันธุกรรม โดยพบว่ามีประวัติคนในครอบครัวมีภาวะนี้สูงถึงประมาณ 30-65% และในกลุ่มคนที่มีความผิดปกติของยีน บางชนิดจะพบภาวะนี้ได้ประมาณ 25% แต่ในคนที่มีจีน/ยีนนั้น ๆปกติ พบภาวะนี้ได้เพียงประมาณ 1 %
  2. โรคอ้วน เพราะชั้นไขมันใต้ผิวหนังที่หนาขึ้นจะส่งผลให้ร่างกายระบายความร้อนได้ไม่ดี จึงต้องเพิ่มการระบายความร้อนออกทางเหงื่อ
  3. จากการขาดฮอร์โมนเพศหญิงในวัยหมดประจำเดือนหรือภาวะวัยทอง (Post menopausal syndrome)
  4. ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Hyperthyroidism) หรือโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ (Thyrotoxicosis)
  5. โรคเบาหวาน จากร่างกายมีความผิดปกติในการใช้พลังงานและการอักเสบเรื้อรังของเนื้อเยื่อต่าง ๆ
  6. การติดเชื้อโรคที่ส่งผลให้เกิดอาการไข้เรื้อรัง เช่น โรคมาลาเรีย และวัณโรค
  7. โรคหัวใจวายเรื้อรัง เนื่องจากร่างกายต้องใช้พลังงานเพิ่มในการสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงร่างกายให้เพียงพอ ความร้อนในร่างกายจึงสูงขึ้น ซึ่งต้องกำจัดออกโดยการเพิ่มภาวะเหงื่อออก
  8. ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาแก้ปวด (เช่น ยาพาราเซตามอลหรือยาที่มีส่วนผสมของมอร์ฟีน) ยาโรคความดันโลหิตสูง ยาโรคเบาหวาน และยาด้านจิตเวช
  9. โรคมะเร็งบางชนิด เช่น โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ซึ่งในโรคมะเร็งอาการเหงื่อออกมากผิดปกติทั่วตัวมักเกิดในช่วงกลางคืน

แนะนำบทความยอดนิยม ปลูกผมถาวร จากเว็บไซต์ Rattinan.com

การรักษาเพื่อลดอาการเหงื่ออกมาก

  1. การใช้ผลิตภัณฑ์ระงับเหงื่อ ลดเหงื่อ ผู้ป่วยต้องทายาก่อนนอนในบริเวณที่เหงื่อออกมากแล้วล้างออกตอนเช้า โดยต้องระวังไม่ให้ยาเข้าตา หากผู้ป่วยรู้สึกระคายเคืองที่ผิวหนัง อาจต้องใช้ยาไฮโดรคอร์ติโซนทาเพื่อช่วยบรรเทาอาการด้วย
  2. การใช้ยา อาจใช้ยากลุ่มแอนตี้โคลิเนอร์จิกโดยให้ผู้ป่วยทาครีมที่มีส่วนผสมของไกลโคไพโรเลตเพื่อช่วยลดอาการเหงื่อออกมากบริเวณศีรษะและใบหน้า หรือแพทย์อาจให้ผู้ป่วยรับประทานยากลุ่มแอนตี้โคลิเนอร์จิกซึ่งต้องรับประทานติดต่อกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ซึ่งยา กลุ่มนี้ออกฤทธิ์ต้านแอซิติลโคลีน ที่กระตุ้นต่อมเหงื่อและช่วยให้เหงื่อออกน้อยลง อย่างไรก็ตาม ยานี้ได้ผลดีในผู้ป่วยบางราย และอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ปากแห้ง ตาแห้ง เวียนศีรษะ ท้องผูก ใจสั่น กระเพาะปัสสาวะทำงานผิดปกติ เป็นต้น หรือแพทย์อาจให้ผู้ป่วยรับประทานยาต้านเศร้าเพื่อลดอาการเหงื่อออกมากรวมทั้งช่วยลดความวิตกกังวลซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีเหงื่อออกมากขึ้น
  3. การฉีดโบทอกซ์ แพทย์อาจฉีดโบทอกซ์หรือสารโบทูลินั่ม ท็อกซิน เอ เพื่อกดการทำงานของเส้นประสาทที่ควบคุมการหลั่งเหงื่อ ก่อนฉีดต้องประคบน้ำแข็งหรือฉีดยาชา และแพทย์ต้องฉีดยาซ้ำ ๆ ในบริเวณที่มีอาการ โดยเฉพาะรักแร้ มือ หรือเท้า ซึ่งฤทธิ์ยาจะอยู่ได้นานประมาณ 6-12 เดือน ทั้งนี้ ผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บและมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงชั่วคราวในบริเวณที่รักษา
  4. การรักษาด้วยคลื่นไมโครเวฟ เป็นการใช้คลื่นไมโครเวฟทำลายต่อมเหงื่อโดยใช้เวลาในการรักษา 20-30 นาที/ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 3 เดือน แต่วิธีนี้อาจทำให้การรับรู้ของผิวหนังเปลี่ยนไปและรู้สึกไม่สบายผิว อีกทั้งยังเป็นวิธีที่มีค่าใช้จ่ายสูงและไม่เป็นที่นิยม
  5. การรักษาด้วยไอออนโตฟอรีซีส เป็นวิธีที่ใช้กระแสไฟฟ้าพลังงานต่ำช่วยส่งผ่านน้ำหรือยาเข้าสู่ผิวหนังบริเวณต่อมเหงื่อของรักแร้ มือ หรือเท้าที่มีอาการผิดปกติโดยตรง ซึ่งส่งผลให้ต่อมเหงื่อบริเวณนั้นทำงานลดลง ผู้ป่วยอาจต้องเข้ารับการรักษาอย่างน้อย 2-3 ครั้งจึงจะเห็นผล และอาจต้องทำซ้ำทุกเดือนเพื่อให้ได้ผลอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม หญิงมีครรภ์ ผู้ที่ใส่เครื่องควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ ผู้ที่ใส่อวัยวะเทียมที่มีโลหะเป็นส่วนประกอบ รวมทั้งผู้ที่เป็นโรคหัวใจหรือลมชัก ไม่ควรเข้ารับการรักษาด้วยวิธีนี้ เพราะกระแสไฟฟ้าอาจก่ออันตรายได้
  6. การกำจัดต่อมเหงื่อด้วยเครื่องดูดสุญญากาศ ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ และมีเหงื่อออกมากโดยเฉพาะรักแร้ อาจใช้เครื่องดูดสุญญากาศไฟฟ้าช่วยกำจัดต่อมเหงื่อบริเวณรักแร้
  7. การผ่าตัดหรือการจี้ปมประสาท หากรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ ไม่ได้ผล แพทย์อาจผ่าตัดจี้ทำลายปมประสาทบริเวณรักแร้ที่กระตุ้นการหลั่งเหงื่อ หรือผ่าตัดจี้ปมประสาทไขสันหลังที่กระตุ้นการหลั่งเหงื่อบริเวณมือ แม้เป็นวิธีที่ได้ผลดีแต่มักทิ้งรอยแผลเป็นไว้และอาจทำให้ผู้ป่วยมีเหงื่อออกมากบริเวณอื่น ๆ อย่างตามหน้าอกและใบหน้าได้ ส่วนผู้ป่วยที่มีเหงื่อออกมากบริเวณศีรษะและใบหน้าไม่สามารถเข้ารับการรักษาด้วยวิธีนี้ได้

บทความแนะนำ กระชับจุดซ่อนเร้น By Rattinan.com