อาการ “เส้นเลือดขอด” การปล่อยให้มีอาการเรื้อรังไปนาน ๆ จนเข้าสู่ระยะรุนแรง ปัญหาเส้นเลือดขอดที่คิดว่าเป็นเรื่องเล็กนี่แหละซึ่งหากเรารักษาเส้นเลือดขอดตั้งแต่ยังมีอาการน้อย ๆ นั้นจะมีทางเลือกอยู่หลายวิธี โรงพยาบาลรักษาเส้นเลือดขอด แต่สำหรับคนที่ปล่อยไว้จนอาการรุนแรงหลักการทำงานของถุงน่องที่ทำให้อาการเส้นเลือดขอดบรรเทาลงสำหรับผู้ที่เป็นเส้นเลือดขอดจะมีด้วยกัน 3 แบบ คือ
- แบบใต้เข่า
- แบบต้นขา
- แบบเต็มตัว
ซึ่งการจะใช้แบบไหนนั้น ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของเส้นเลือดขอด
เส้นเลือดขอดที่ขามีกี่ ประเภท อย่างไรบ้าง
เส้นเลือดขอดที่ขามี 2 ประเภท คือ
- เส้นเลือดโป่ง (Varicose Veins) เกิดจากผนังเส้นเลือดบาง ทำให้เส้นเลือดพอง และขดเป็นหยักอาจมีสีเขียวผสมม่วง
- เส้นเลือดฝอย ลักษณะเป็นแพแบบเส้นใยแมงมุม (Spider Veins) อยู่ตื้นมีขนาดเล็ก สีม่วงหรือแดงมองเห็นคล้ายใยแมงมุม
อาการของเส้นเลือดขอดสามารถเห็นได้ อาจมีลักษณะเป็นเส้นสีแดง สีม่วง และสีเขียวตามจุดต่าง ๆ ของร่างกาย อาทิ บริเวณน่อง ขาพับ ต้นขา อาการอื่น ๆ เช่น บางรายอาจปวดเมื่อยขา เมื่อได้นอนราบและยกขาสูงจะรู้สึกดีขึ้น แต่ในบางรายไม่มีอาการร่วมหากปล่อยไว้นานจะเป็นมากขึ้นได้
สาเหตุของเส้นเลือดขอด
- เกิดจากทำงานโดยต้องยืน เดิน นาน ๆ เช่น พนักงานขายสินค้า พนักงานเก็บค่าโดยสาร
- เกิดจากกรรมพันธุ์ พ่อแม่มีหลอดเลือดขอด ลูกก็มีโอกาสเป็นด้วย
- เกิดจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น จะเป็นหลอดเลือดขอดเพิ่มขึ้นเนื่องจากความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของลิ้นหลอดเลือดลดน้อยลง
- เกิดจากฮอร์โมนเพศ ซึ่งเพศหญิงมีโอกาสเป็นมากกว่าเพศชายเนื่องจากผลของฮอร์โมนเพศหญิงโดยตรง
- เกิดจากการมีน้ำหนักมากเกินไป คนที่มีน้ำหนักมากเกินเลือดจะหมุนเวียนได้ไม่สะดวก จะเกิดการคั่งค้างของเลือดบริเวณขามากขึ้น จึงทำให้เกิดหลอดเลือดขอดได้มาก
- เกิดจากการกระทบกระแทกหรือกดทับเช่น ไขว่ห้าง เนื่องจากเลือดเดินไม่สะดวก
- เกิดจากการใส่รองเท้าส้นสูง ซึ่งจะทำให้เลือดหมุนเวียนได้ไม่ดี
แนวทางการจัดการกับเส้นเลือดขอดสามารถทำได้โดย
แพทย์จะพิจารณาจากอาการ และลักษณะของเส้นเลือดที่ขอดของแต่ละบุคคล ซึ่งมี 2 แนวทางด้วยกัน คือ การรักษาเส้นเลือดขอดโดยไม่ผ่าตัดแบบประคับประคอง ด้วยวิธีรักษาตามอาการ ตั้งแต่การปฏิบัติตัวเปลี่ยนอิริยาบถ, สวมถุงน่องชนิดพิเศษ ซึ่งมีความหนา และแน่นกว่าถุงน่องทั่วไป,ใช้ยานวดบรรเทาอาการ, การฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ และเมื่อรับการรักษาข้างต้นที่กล่าวมา แต่อาการไม่ดีขึ้น สุดท้ายเป็นการรักษาเส้นเลือดขอดแบบผ่าตัดจะทำในกรณีเกิดภาวะอุดตันภายในหลอดเลือดอาจเป็นอันตรายต่ออวัยวะอื่น ๆ และมีภาวะแทรกซ้อน
การรักษาหลอดเลือดขอดทำไมต้องรักษา
เส้นเลือดขอดเป็นโรคที่หลาย ๆ คนละเลย เพราะคิดว่าไม่ส่งผลกระทบอะไรต่อการดำเนินชีวิต แต่ความจริงแล้ว หากเราปล่อยให้เส้นเลือดขอดอยู่กับเราไปนาน ๆ คุณอาจจะต้องทุกข์ทรมานกับอาการปวดจนถึงขั้นไม่สามารถที่จะยืนหรือเดินได้ หรือในบางรายเป็นมากจนถึงขั้นเส้นเลือดแตก การรักษาหลอดเลือดขอด ขึ้นอยู่กับขนาดของเส้นเลือดขอดมี 5 วิธี
- การพันขาลดอาการคั่งบวม
- การฉีดสารเคมีทำให้หลอดเลือดตีบ (Sclerotherapy)
- การใช้ คลื่นความถี่วิทยุ Radio Frequency Ablation (RFA)
- การใช้ Laser
- การผ่าตัด
คำแนะนำในการปฏิบัติหลังการรักษา
- ควรงดการยกของหนักหรือยืนนานๆ เป็นเวลา 3 – 7 วัน
- ควรใส่ผ้ายืดหรือซัพพอร์ทในบริเวณที่ทำการรักษา เพื่อประคองกล้ามเนื้อและเส้นเลือดบริเวณนั้น ส่วนระยะเวลาที่ใช้ขึ้นอยู่กับขนาดของเส้นเลือด โดยเส้นเลือดเล็กฝอยให้ใส่ไว้ 1 – 3 วัน ส่วนเส้นเลือดขอดขนาดกลาง (ขนาดเท่าไส้ปากกา) ควรใส่อย่างน้อย 7 วัน ขึ้นไป
- ควรออกกำลังกายด้วยการเดินทุกวัน เพื่อกระตุ้นให้ยากระจายตัวอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งช่วยให้การรักษาได้ผลดียิ่งขึ้น
- ควรพบแพทย์ตามนัดภายใน 2 – 4 สัปดาห์ เพื่อแพทย์จะได้ติดตามผลการรักษา