โรคเครียดลงกระเพาะ

0 sec read

โรคเครียดลงกระเพาะ

โรคเครียดลงกระเพาะ เกิดจากการที่คนเรามีความเครียดมาก เครียดสะสม จนทำให้ ส่งผลต่อฮอร์โมนในร่างกายเกิดการ แปรปรวน ทำให้เส้นเลือกไหลเวียนไม่สะดวก เพราะการบีบตัว ทำให้กระเพาะอาหารหลั่งน้ำย่อยออกมามากกว่าปกติจนทำให้กระเพาะเป็นแผลและลำไส้บีบตัวอย่างรุนแรง โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกช่วงอายุ และด้วยปัจจัยหลาย ๆ อย่างกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้คือ 18-35 ปี เพราะกลุ่มดังกล่าวเป็นกลุ่มที่อยู่ในช่วงเปลี่ยนแปลง หลาย ๆ อย่าง เช่นการเข้าสู่วัยที่ต้องสอบเข้ามหาวิทยาลัย วันที่กำลังหางานทำ เริ่มทำงาน วัยที่กำลังจะสร้างครอบครัว เพราะเป็นวัยที่เป็นการเริ่มต้นของแต่ละช่วงอายุ เปลี่ยนถ่ายเจเนอเรซั่น จึงเกิดความเครียดและกระตุ้นให้เกิดอาการลำไส้แปรปรวน และมักจะพบในผู้หญิงมากกว่า ที่จะมีอารมณ์แปรปรวนได้มาก

อาการของโรค

สำหรับอาการของโรคของแต่ละคนอาจแตกต่างกันไป เช่น ปวดแน่นบริเวณลิ้นปี่และอาจมีอาการท้องอืด มวนท้องร่วมด้วย คลื่นไส้อาเจียนทุกครั้งหลัง จากรับประทานอาหาร เนื่องจากเย็บกระเพาะอาหารเป็นแผล และลำไส้บีบตัวจึงทำให้เกิดอาการดังกล่าว ถ่ายอุจจาระผิดปกติ ซึ่งบางคนอาจถ่ายมากกว่าวันละ 3 ครั้ง และบางคนอาจถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ และมักจะรู้สึกว่าถ่ายอุจจาระไม่สุดอยู่เสมอ และอาจต้องเบ่งถ่ายมากกว่าปกติ

ผลเสียของโรคเครียดลงกระเพาะที่มีต่อร่างกาย

  • ทำให้ท้องอืด หรือภาวะอาหารไม่ย่อย เกิดจากการหลั่งกรด ที่จำเป็นต่อการย่อยน้อยลง
  • ทำให้ร่างกายได้รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย แบคทีเรียชนิดไม่ดีเพิ่มขึ้น อาจส่งผลให้ทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ไม่ดี ทำให้เสี่ยงติดเชื้อ ในระบบทางเดินอาหารได้ง่าย เพราะระบบภูมิคุ้มกันทำงานน้อยลง
  • อาจเกิดอาการท้องผูกนั่งนาน เพราะลำไส้ใหญ่ตอบสนองต่อความเครียดที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดการบีบตัว ถ่ายยาก
  • ทำให้ระบบทางเดินอาหารแย่ลงได้ เช่น ลำไส้อักเสบ ลำไส้แปรปรวน เป็นต้น

วิธีคลายเครียด ลดอาการเครียดลงกระเพาะ

ความเครียด ส่วนมากแล้วจะเกิดผลกระทบมากที่สุด กับระบบทางเดินอาหาร อาหารไม่ย่อย กรดไหลย้อน ปวดท้องไม่มีสาเหตุ ทานแล้วอยากอาเจียน ฯ ซึ่งวิธีการรักษาก็ต้องพยายามแก้ที่ต้นเหตุ หาทางรับมือกับความเครียด เพื่อป้องกันผลเสียต่อร่างกาย

  1. ควรมีที่ปรึกษา ไว้ระบายความรู้สึก ระบายสิ่งที่ทำให้เกิดความเครียด

เพราะการได้ระบายความรู้สึกให้กับใครสักคนฟัง จะทำให้รู้สึกสบายใจ และช่วยคลายความเครียด ได้เป็นอย่างดี แต่ต้องเลือกคนที่คิดว่าไว้ใจได้ และรู้สึกสบายใจทุกครั้งที่คุยกับเขา เท่านี้ก็จะทำให้อาการทุเลาลงอย่างรวดเร็วแล้ว

  1. เล่นกีฬาการออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬา บ่อย ๆ

จะทำให้สมองมีการหลั่งสารเคมีเอนโดรฟินออกมามากขึ้น ที่ทำให้อารมณ์ดีขึ้น สารตัวนี้ก็จะช่วยคลายความเครียดและบรรเทาอาการของโรคเครียดลงกระเพาะได้อย่างดีเยี่ยม ช่วยลดความเครียด และความวิตกกังวลได้ดี แถมยังช่วยทำให้มีสุขภาพที่แข็งแรง มีบุคลิกที่ดีขึ้น

  1. ห้ามโกหก

ทุกครั้งที่คุณโกหก ฮอร์โมนความเครียดของคุณจะพุ่งสูงขึ้นทุกครั้ง ดังนั้นถ้าคุณโกหกอยู่เป็นประจำ ก็อาจจะส่งผลทำร้ายสุขภาพจิตและสุขภาพกายของคุณได้มาก เหตุผลที่เป็นเช่นนี้ก็มาจากการใช้เครื่องจับเท็จ ที่ตรวจพบว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่มีการโกหก ความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ จะเพิ่มสูงขึ้น และในปัจจุบันก็ยังมีเครื่องวัดระดับฮอร์โมนความเครียด ผ่านทางลมหายใจอีกด้วย

  1. ลดคาเฟอีนลง

สำหรับคนที่มีความเครียดสะสม คนที่เครียดง่าย ควรพยายามหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ไม่ว่าจะเป็นชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง เพราะคาเฟอีนจะเข้าไปยับยั้งสารเคมี ในสมองตัวหนึ่งสารอะดีโนซีน ที่ช่วยทำให้เราเกิดความสงบและผ่อนคลาย

  1. ฝึกควบคุมการหายใจ

คุณอาจสังเกตตัวเองได้อย่างง่ายว่า เวลาที่มีความเครียดหรือโมโหอย่างรุนแรง หัวใจมักจะเต้นแรงขึ้น อาจจะมีอาการหายใจหอบ ดังนั้นการฝึกควบคุมลมหายใจ โดยวิธีนอนราบกับพื้น วางฝ่ามือบนหน้าอก พยายามควบคุมไม่ให้หน้าอกเคลื่อนไหวขึ้นลงมากเกินไป จากนั้นให้หายใจโดยให้หน้าอกเคลื่อนไหวน้อยที่สุด ร่างกายจะมีการปรับใช้กระบังลมมาควบคุมการหายใจเข้าออกแทน ซึ่งจะลดความเครียดลงในขณะที่เกิดความเครียดสูง

  1. เมล็ดทานตะวันช่วยได้

หากคุณเป็นคนขี้ตื่นเต้น ตื่นเต้นทีไรก็จะมีเหงื่อออกเต็มมือหรือหัวใจเต้นอย่างแรง ซึ่งก็มีผลทำให้เกิดความเครียดลงกระเพาะได้เช่นเดียวกัน ในขณะนั้นให้คุณลองเคี้ยวเมล็ดทานตะวัน เพื่อเพิ่มปริมาณแมกนีเซียมในร่างกาย จะช่วยยับยั้งวงจรของความตื่นเต้นนี้ได้

  1. ทานยาตามแพทย์สั่ง

ควรทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด จะทำให้อาการดีขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ก็ขึ้นอยู่กับการดูแลตัวเองไปพร้อม ๆ กันด้วย

  1. หาแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหา

การแก้ไขที่ต้นเหตุของความเครียดจึงนับ เป็นวิธีรับมืออย่างตรงจุด หรืออาจลองเปลี่ยนมุมมองความคิดต่อปัญหานั้น ๆ ให้เป็นไปในแง่ดีบ้าง

  1. เลี่ยงการรับมือกับความเครียดด้วยวิธีที่ผิด

เช่น สูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น เพราะไม่ได้ช่วยให้ดีขึ้น แต่กลับยิ่งส่งผลเสียต่อระบบย่อยอาหาร

  1. สิ่งสำคัญปล่อยวางบ้าง

การเก็บทุกเรื่องมาคิด เป็นตัวการหนึ่งที่จะทำให้เกิดความเครียดและเป็นผลให้เกิดโรคดังกล่าว ดังนั้นจึงควรปล่อยวางบ้าง แล้วอาการป่วยจะดีขึ้น

  1. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ก็เป็นวิธีการรักษาโรคเครียดลงกระเพาะชนิดหนึ่ง

ก่อนอื่นเราต้องรับประทานอาหารให้ตรงเวลา ชนิดของอาหารจะต้องเลือกกิน อาหารบางชนิดจะกระตุ้นให้เกิดอาการค่อนข้างบ่อย เช่น อาหารที่มีรสจัด จะทำให้เกิดอาการแสบหรือปวดท้องได้บ่อยขึ้น และอาหารมันก็มักจะทำให้เกิดอาการจุก แน่นท้อง